วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Week#4 Reading skill (28/June/2013)


วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบ T.P.R. (Total Physical Response)

เทคนิคการสอนภาษาด้วย TPR – Total Physical Response หมายถึง หมายถึง การสอนภาษาโดยการใช้ท่าทาง โดยให้ผู้เรียนฟังคำสั่งจากครูแล้วผู้เรียนทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นการตอบรับให้ทำตามโดยผู้เรียนไม่ต้องพูด วิธีสอนภาษาโดยการใช้ท่าทางใช้สำหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาที่สอง

ประเภทของ TPR

                ประเภทที่ 1 TPR-B (Total Physical Response-Body) เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่มีคำศัพท์ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย (body movement) เช่น นั่งลง (sit down) ยืนขึ้น (stand up) เลี้ยวซ้าย (turnleft) เลี้ยวขวา (turn right) เดินหน้า (go straight) ถอยหลัง (back) กระโดด (jump) ปรบมือ (clap your hand) หยุด (stop) กลับหลังหัน (turn around) ชูมือขึ้น (raise your hand) เอามือลง (put down your hand) โบกมือ(wave your hand) เป็นต้น กิจกรรมหรือเกมที่ใช้อาจใช้เกม Simon Says เช่น Simon Says touch your Norse ถ้า ไม่ได้พูดคำว่า Simon Says ไม่ต้องทำตาม

                ประเภทที่ 2 TPR-O (Total Physical Response-Objects)เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่มีคำศัพท์ที่เป็นสิ่งของ (objects) เช่น สมุด (book) ปากกา (pen) ดินสอ (pencil) ยางลบ (eraser) ไม้บรรทัด (ruler) แผนที่(map)โต๊ะ (table) เก้าอี้ (chair) ประตู (door) นาฬิกา (clock) ไฟฉาย (flash light) ดอกไม้ (flower) ใบไม้ (leaf) ก้อนหิน (rock) จาน (plate) ชาม (bowl) แก้วน้ำ (glass) ช้อน (spoon) ส้อม (fork) หวี (comb) กระจก (mirror) เป็นต้น อย่าไปติดการสอนในชั้นเรียนอาจพาผู้เรียนออกนอกห้องเรียน เพื่อเรียนรู้วัตถุสิ่งของต่าง ๆ หรืออาจใช้เกม bring me (a pen, a red pencil) สำหรับวัตถุประสงค์ของเทคนิคการสอนภาษาด้วย TPR นี้ต้องการที่จะให้ผู้เรียนฟังคำสั่งให้เข้าใจและทำตามคำสั่ง โดยผู้สอนมีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้จักกลุ่มคำเกี่ยวกับสิ่งของต่างๆ

                ประเภทที่ 3 TPR-P(Total Physical Response-Picture)เป็นการสอนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ การเลือก ภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนควรใช้ให้เหมาะสมกับนักศึกษา โดยยกตัวอย่างคำถามจากภาพ เมื่อครูถามแล้วให้ผู้เรียนไปชี้ภาพให้ดู ไม่มีการพูดภาพที่ครูกำหนดควรเป็นภาพตัดแปะจะได้เคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ ไปไว้ตามตำแหน่งต่างๆของภาพได้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน เป็นการสอนโดยใช้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนรู้จักกลุ่มคำเกี่ยวกับภาพต่างๆ มี 3 ประเภท คือ 1. ภาพโปสเตอร์ แผ่นพับ รูปภาพที่มีอยู่แล้ว 2. ภาพตัดแปะจากผ้า หรือ กระดาษ 3. ภาพวาดลายเส้นหรือภาพสีที่ผลิตโดยครูหรือผู้เรียน หรือภูมิปัญญา ท้องถิ่น

                ประเภทที่ 4 TPR-S (Total Physical Response-Story telling) เป็นการสอนภาษาโดยการเล่าเรื่อง โดยครูเล่าเรื่องคล้ายกับชีวิตประจำวันของนักเรียน ให้เริ่มจากง่าย ๆ ก่อนเป็นการสอนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ การเลือก ภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนควรใช้ให้เหมาะสม โดยยกตัวอย่างคำถามจากภาพ เมื่อครูถามแล้วให้ผู้เรียนไปชี้ภาพให้ดู ไม่มีการพูดภาพที่ครูกำหนดควรเป็นภาพตัดแปะจะได้เคลื่อนย้าย คน สัตว์ สิ่งของ ไปไว้ตามตำแหน่งต่างๆของภาพได้ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียน รู้จักภาพเหล่านั้นจริงๆ ไม่ใช่การท่องจำภาพเท่านั้นเป็นการสอนที่ใช้เรื่องเล่าการสอนภาษาโดยการใช้รูปภาพ TPR-P การสอนภาษาด้วยการเล่าเรื่องนี้ ควรใช้เมื่อผู้เรียนมีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ

                จุดประสงค์ของ TPR-S  คือต้องการให้ผู้เรียนฟังครูพูดให้เข้าใจและทำท่าทาง โดยผู้เรียน

ไม่ต้องพูด เพียงแต่แสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่องเท่านั้นจากการที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติการสอนในวิชาภาษาอังกฤษ ข้าพเจ้ามองว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่ยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ครูจะต้องใช้ความพยายามในการฝึกฝนนักเรียน หรือทำให้นักเรียนมีใจรักในภาษาอังกฤษจึงจะทำให้เรียนภาษาอังกฤษได้ดี แต่การที่เราจะเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ดียิ่งยากมากกว่าหลายเท่า

ที่มา: http://saranyanorprab.blogspot.com/2013/06/tpr-total-physical-response.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น